วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พัทลุง Phatthalung

                                                              พัทลุง Phatthalung



มโนราห์ การแสดงอันเลื่องลือของ จ.พัทลุง
ศิลปะประจำชาติที่ควรมีการอนุรักษ์ไว้
เพื่อเป็นสมบัติของชาติไทยต่อไป

ตัวอักษรย่อ : พท
ตราประจำจังหวัด : รูปเขาอกทะลุ เสมือนหนึ่งเป็นหลักเมืองของจังหวัด
ชื่อเดิม : เมืองพัทลุง
พื้นที่ : 3,424 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 500,501 คน
เขตการปกครอง : 11 อำเภอ
  1. อำเภอเมืองพัทลุง
  2. อำเภอควนขนุน
  3. อำเภอเขาชัยสน
  4. อำเภอปากพะยูน
  5. อำเภอกงหรา
  6. อำเภอป่าบอน
  7. อำเภอตะโหมด
  8. อำเภอป่าพยอม
  9. อำเภอบางแก้ว
  10. อำเภอศรีบรรพต
  11. อำเภอศรีนครินทร์
ภูเขา : เขาคลองสังเวียน สูง 792 เมตร
แม่น้ำ  : คลองลำปำ คลองบางแก้ว และคลองปากประ
เกาะ : เกาะหมาก เกาะบางคำ
สถานที่ท่องเที่ยว :
  • ถ้ำคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายในถ้ำจำนวนมาก
  • วัดวัง อำเภอเมืองพัทลุง เป็นวัดโบราณที่สำคัญของจังหวัด เป็นที่ประดิษฐพระพุทธรูปถึง 108 รูป
  • ทะเลสาปลำปำ เป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาปสงขลา มีหาดแสนสุขที่มีทิวสนร่มรื่น อยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองพัทลุง
  • พระธาตุบางแก้ว ประดิษฐอยู่ที่วัดตะเขียน อำเภอเขาชัยสน เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพัทลุง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
  • เขาอกทะลุ ทีช่องทะลุอยู่ตรงกลางภูเขา มีฐานพระเจดีย์อยู่บนยอด แต่ยอดพระเจดีย์พังหมดแล้ว อยู่ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง
  • อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า มีสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เช่น หน้าผา ถ้ำที่สวยงาม น้ำตก เส้นทางเดินป่า เป็นต้น อยู่ในพื้นที่อำเภอศรีบรรพต
  • อุทยานนกน้ำทะเลน้อย อำเภอควนขนุน มีลักษณะเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่ เชื่อมติดต่อกับทะเลสาปสงขลา เป็นอุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีนกมากกว่า 150 ชนิด
  • บ่อน้ำร้อน บ่อน้ำเย็น เขาชัยสน มีทั้งบ่อน้ำร้อนและบ่อน้ำเย็นอยู่ใกล้ๆกัน
  • น้ำตกเขาครามและน้ำตกบ้านโตน อยู่ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง ส่วนน้ำตกหม่อมจุ้ย อยู่ในอำเภอตะโหมด และน้ำตกไร่เหนือ น้ำตกพระยานคร อยู่ในอำเภอศรีบรรพต

คำขวัญ : เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ
          ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน



มโนราห์
ศิลปะการแสดงการงดงาม อ่อนช้อย
และสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทย


วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย : Thalanoi Non-hunting Area

          เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย : Thalanoi Non-hunting Area


พระตำหนักสง่างาม
นกน้ำนับแสนตัว
ทะเลบัวยามเช้า
เสม็ดขาวผืนใหญ่
แหล่งวางไข่ควนขี้เสียน
ขึ้นทะเบียนแรมซ่าร์
ล่องนาวาทะเลน้อย


ความเป็นมา

ทะเลน้อยได้รับการสำรวจในปี พ.ศ. 2517 และประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา แต่ประชาชนมักเรียกกันติดปากว่า "อุทยานนกน้ำทะเลน้อย" ซึ่งนับเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย สังกัดสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะด้านสัตว์ป่า ป่าไม้ พื้นที่และงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของคนรอบๆทะเลน้อย

ที่ตั้ง

สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ตั้งอยู่เลขที่ 113 หมู่ที่ 2 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ห่างจากตัวเมืองพัทลุงไปทางทิศเหนือประมาณ 32 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 4048 จนสุดถนน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีเนื้อที่ประมาณ 285,625 ไร่ ประมาณ 457 ตารางกิโเมตร โดยครอบคลุมฟื้นที่ของ 3 จังหวัด คือ จังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ส่วนที่เป็นฟื้นน้ำ (ทะเลน้อย) ประมาณ 17,500 ไร่ หรือประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นพื้นที่ราบริมทะเลสาบ ประกอบด้วย นาข้าว ป่าพรุ ป่าหญ้า ประมาณ 94% และแอ่งน้ำ ประมาณ 6% ของพื้นที่ทั้งหมด ตัวทะเลน้อยมีความกว้างประมาณ 5 กิโลเมตร ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร มีพืชน้ำปกคลุม เช่น ผักตบชวา กง กระจูดหนู บัวต่างๆ พืชลอยน้ำ ความลึกเฉลี่ย 1.25 เมตร

ลักษณะภูมิอากาศ

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 79% เนื่องจากตั้งอยู่ทางภาคใต้ตอนล่าง จึงทำให้มีเพียง 2  ฤดู คือ ฤดูร้อนกับฤดูฝน เท่านั้น    

สิ่งอำนวยความสะดวก

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านค้าสวัสดิการ บ้านพักรับรอง 4 หลัง ลานจอดรถ ห้องน้ำ-ห้องสุขา ศาลาพักผ่อน บริเวณคลองนางเรียมและเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และเรือนำเที่ยวทะเลน้อย

จุดที่น่าสนใจ
  1. พระตำหนักทะเลน้อย
  2. ทะเลบัวยามเช้า
  3. ฝูงนกน้ำนานาชนิดในทะเลน้อย
  4. แหล่งทำรังวางไข่ของนกน้ำ บริเวณอ่าวหม้อ หน่วยพิทักษ์ป่าควนขี้เสียน มีเนื้อที่ประมาณ3,085 ไร่ ซึ่งได้รับการประมาณเป็น Ramsar Site แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2541
  5. จุดชมธรรมชาติบริเวณศาลานางเรียม
  6. ฝูงควายไล่ทุ่งบริเวณทุ่งแหลมดิน
  7. ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สายทะเลน้อย-ระโนด

ชนิดป่าและพรรณไม้

พื้นที่บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย แบ่งออกได้ 4 ลักษณะ คือ ป่าดิบชื้น ป่าพรุ ทุ่งหญ้า และพืชน้ำ จึงทำให้พืชพันธุ์ มีความหลากหลาย มีต้นไม้ขนาดใหญ่ ไม้เลื้อยในป่าดิบชื้น ไม้เสม็ดขาว ไม้เมา มีพืชล้มลุก พวกหญ้าชนิดต่างๆ ในทะเลน้อย รวมพันธุ์พืชประมาณ 260 ชนิด

สัตว์ป่า

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีความหลากหลายชนิด เนื่องจากสภาพพื้นที่มีหลายลักษณะ มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชน้ำ ทุ่งหญ้า ป่าไม้ และสัตว์น้ำจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งเป็นอาหารสัตว์ที่อาศัยอยู่ สัตว์ป่าแบ่งออกเป็นนกน้ำที่พบ 186 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 26 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 13 ชนิด นกน้ำมีทั้งนกที่เป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพ นกที่สำคัญได้แก่ นกกาบบัว นกกุลาขาว นกกระสานวล นกยางควาย นกกระสาแดง นกกาน้ำเล็ก นกแขวก เป็นต้น

ข้อควรปฎิบัติในการท่องเที่ยว
  1. ศึกษาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับนกน้ำและธรรมชาติของทะเลน้อยล่วงหน้า
  2. ไม่เก็บดอกบัวหรือทำลายพืชพันธุ์ตามธรรมชาติที่ปรากฎ ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
  3. ท่องเที่ยวไปตามเส้นทางที่กำหนด
  4. ลงเรืออย่างระมัดระวัง และขณะนั่งเรือไม่เอามือหรือเท้าออกจากเรือ
  5. ไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนขณะชมธรรมชาติ
  6. ขยะทุกชิ้นนำกลับมาทิ้งในถังขยะบนฝั่ง หรือถ้าพบเห็นกรุณาเก็บมาทิ้งด้วย
  7. แต่งกายตามที่กำหนดหรือให้เหมาะสม
หมายเหตุ

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย แม้จะมีข้อจำกัดในหลายๆด้าน แต่ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะดูแลพื้นที่ป่าไม้ สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติให้ดีที่สุด โดยมีจุดยืนและเป้าหมายเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาเมืองพัทลุง

                                         ประวัติความเป็นมาเมืองพัทลุง



พัทลุง เมืองเก่าแก่ที่ถูกบันทึกไว้ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และคำบอกเล่าสืบกันมาทั้งในโบราณและนิยาย และประจักษ์พยานที่เป็นโบราณสถาน ศิลปวัตถุ ที่มีอายุร่วมยุคสมัยศิลปศรีวิชัย หรือราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 โดยเฉพาะแหล่งโบราณที่ยังคงเหลือไว้เป็นมรดกคู่บ้านคู่เมืองพัทลุงอันล้ำค่ายิ่ง

พัทลุง ยังเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อน ซึ่งมีหลักฐานอันเก่าแก่ที่สุด คือ การค้นพบเครื่องมือหินกระเทาะที่ใกล้ๆ ถ้ำพระ เขาชัยบุรี ซึ่งอาจมีอายุอยู่ในสมัยไพลสโตซีน หรือสมัยไอโลซีน หลักฐานที่เก่าแก่รองลงมาคือ การค้นพบเครื่องมือ เครื่องใช้ของมนุษย์ยุคใหม่ ที่ถ้ำและเพิงหินเขาเจียก โครงกระดูกมนุษย์และเครื่องปั้นดินเผาที่เขาลำเลียง อำเภอเมืองพัทลุง นอกจากนี้ยังพบขวานหินขัดสมัยหินใหม่ กระจายอยู่ในเกือบทุกฟื้นที่ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการตั้งถิ่นฐานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจนกระจายออกไป โดยสันนิษฐานว่าชุมชนเหล่านี้ ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนภายนอก โดยเฉพาะชาวอินเดียกับชาวจีน และการพัฒนาร่วมสมัยกับชุมชนทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลา ดังเช่นการค้นพบพระพิมพ์ดินดิบที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระผีทำ" ซึ่งสร้างขึ้นตามคติทางพุทธศาสนาแบบมหาหยาน จำนวนมากที่ภ้ำคูหาสวรรค์ ถ้ำมาลัย และถ้ำเขาอกทะลุ นอกจากนี้ยังพบรูปพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมหล่อด้วยสำริดที่บ้านแร่ และบริเวณวัดเขียนบางแก้ว



ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
มีถิ่นกำเนิดจาก จ.พัทลุง มานับร้อยปี
เป็นข้าวจีไอเพียงชนิดเดียวของประเทศไทย
เพราะมีถิ่นเพาะปลูกบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุอาหารจากดิน น้ำ และอากาศที่เอื้ออำนวย
ต่อการกำเนิดพันธุ์ข้าวที่ดี่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก

 ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ได้ไปปรากฎชื่อเมืองพัทลุงในกฎหมายพระอัยการนา ทหารหัวเมือง พ.ศ. 1998 ระบุว่าเมืองพัทลุงเป็นเมืองตรี ที่ตั้งเมืองพัทลุงในระยะเริ่มแรกนั้นเชื่อกันว่าตั้งอยู่ที่เมืองสทิงพระ จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน ต่อมาถูกสลัดอาเจียอารูจากสุมาตราและสลัดอุยังตนัก จากแหลมมลายูเข้ามาปล้นสดมภ์และกวาดต้อนผู้คนเนืองๆจากนั้น ในรัฐการพระเจ้าทรงธรรม ตาตูมมรหุ่ม แขกอิสลามที่อพยพมาจากเมืองสาใสในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นต้นตระกูลของสุลต่าน สุไลมานแห่งเมืองสงขลา ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานถ้าขาย ณ หัวเขาแดง ได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าเมืองพัทลุงและย้ายเมืองสงขลาจากสทิงพระมายังหัวเขาแดงซึ่งมีชัยภูมิป้องกันตนเองได้ดีกว่า ต่อมาในสมัยสุลต่านสุไลมานบุตรเขยตูมรหุ่ม ได้สร้างความรุ่งเรืองให้แก่เมืองที่หัวเขาแดงเป็นอันมาก และได้ส่งฟาริซีน้องชายซึ่งเป็นปลัดเมืองมาสร้างเมืองใหม่ที่เขาชัยบุรี เพื่อป้องกันศัตรูที่จะมาโจมตีเมืองสงขลาทางบก ภายหลังได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าเมืองพัทลุง และได้ย้ายเมืองพัทลุงออกจากเมืองสงขลา ตั้งแต่นั้นและตั้งเมืองอยู่ที่เขาชัยบุรีตลอดมา จนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยา เมือปี พ.ศ. 2310

Sangyod GABA Rice Drink
ทำจากข้าวกล้องสังข์หยดพัทลุงเพาะงอก
ผลิตภัณฑ์จากจ.พัทลุง
เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพที่ดีและรสชาติอร่อย
เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว

ระหว่างสมัยกรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีการโยกย้ายสถานที่ตั้งเมืองพัทลุงหลายครั้ง และได้ยกเป็นเมืองชั้นโทในรัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในรัชกาลนี้เองที่พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ารวบรวมไพร่พลจำนวนถึง 144,000 คน จัดเป็นกองทัพใหญ่ 9 ทัพ ยกเข้ามาตีราชอาณาจักรไทย ทัพหนึ่งมอบให้แกงหวุ่นแมงยีเป็นแม่ทัพตีได้เมืองกระบุรี ระนอง ชุมพร ไชยาและนครศรีธรรมราช ตามลำดับ และขณะที่กำลังจัดไพล่พลอยู่ที่นครศรีธรรมราช เพื่อจะยกมาตีเมืองพัทลุง และสงขลานั้น พระยาพัทลุง โดยความร่วมมือของพระมหาช่วยวัดป่าเลไลยก์ รวบรวมไพล่พลได้ประมาณ 1,000 คน ยกออกไปตั้งขัดตาทัพที่คลองท่าเสม็ด จนกระทั่งสมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ ทรงยกกองทัพมาช่วยหัวเมืองปักษ์ใต้ ตีกองทัพพม่าแตกหลบหนีไป จึงโปรดเกล้าให้ลาสิกขาบทแล้วแต่งตั้งให้เป็น "พระยาทุกขราษฎร์" ผู้ช่วยราชการเมืองพัทลุง


น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวสังข์หยด 100%
จากข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
ใช้วิธีสกัดเย็น
ไม่ใส่สี กลิ่น หรือสารเคมีใดๆทั้งสิ้น
ค่าแกมมา-โอริซานอลสูงกว่าน้ำมันรำข้าวชนิดอื่นๆ
 คือ 28,700 ppm. ซึ่งสูงโดยธรรมชาติของข้าวสังข์หยด
เพราะข้าวสังข์หยดเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก
จนกระทั่งคนเฒ่าคนแก่เมืองลุง บอกว่าเป็น ยาอายุวัฒนะ

ครั้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฎิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้นในปี พ.ศ.2439 ประกอบด้วยเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลาและหัวเมือง ปัตตานี เฉพาะในส่วนของเมืองพัทลุง ซึ่งในขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ ถูกจัดให้ขึ้นอยู่กับมณฑลนครศรีธรรมราช โดยแบ่งพัทลุงออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภออุดร และอำเภอทักษิณ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้ย้ายเมืองมาตั้งที่ตำบลคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อความสะดวกในการคมนาคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 เมื่อยุบเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล จึงทำให้พัทลุงมีฐานะเป็นจังหวัดเป็นต้นมา